top of page

จำเป็นอย่างไร? Freediving Wetsuit


เวลาผมสอนน้องๆ level 1 ผมจะพูดเสมอว่า exposure suit หรือ wetsuit สำหรับการฟรีไดฟ์ในบ้านเราอาจจะไม่ค่อยจำเป็นเท่าไหร่ ที่ไม่ได้ลงรายละเอียดมากเพราะใน level 1 เวลาที่ใช้จะเน้นการฝึกและสอนในหลักสูตรมากกว่า อีกเหตผลคือ ฟรีไดฟ์บ้านเราไม่ได้ลงลึกมาก และความเข้าใจเรื่อง wetsuit สำหรับฟรีไดฟ์ในบ้านเรายังมีไม่มาก ส่วนใหญ่จะใส่แนวสวยงาม เท่ห์หล่อกันมากกว่า

Courtesy of Okinawa blessing - with more than 40 year experience and most original freediving wetsuit from Okinawa, Japan

จริงๆแล้ว ฟรีไดฟ์ wetsuit สำคัญไม่ได้ต่างจาก SCUBA wetsuit นะครับ แต่มีบริบทต่างกัน ทั้งการใช้งาน และรูปแบบของวัสดุ

อย่างแรก ไม่ค่อยแนะนำให้ใช้ wetsuit ของ SCUBA มาใช่กับ Freediving เพราะมันทำหน้าที่ไม่เหมือนกันครับ ตั้งแต่ความหนา การตัดเย็บ การยืดหดตัวของผ้าหรือวัสดุ ความคล่องตัว

อย่างที่สอง หลายท่านที่เรียนใน Advanced หรือ Level 2 แล้ว คงทราบดีจากครูของท่าน คือ เรื่อง ' การคำนวณน้ำหนักตะกั่ว (counter weight) ' ที่เราใช้

เพราะการฟรีไดฟ์ต้องคำนวณความลึกที่สัมพัทธ์กับประเภทวัสดุ และ ความหนาของ wetsuit + น้ำหนัก จำนวนของตะกั่วที่ใช้เพื่อ ขึ้น และ ลง (Ascending & Descending) ที่ความลึกต่างกัน (Depth Target) + วิธี หรือรูปแบบการฟรีไดฟ์ (Disciplines) เช่นจะฟรีไดฟ์ในสระ ก็ใช้งาน wetsuit แบบนึง จะลง Constant Weight ในทะเลก็ใช้งานแบบนึง จะลง Variable Weight หรือ Monofins ก็อาจจะต้องเลือกแบบหนึ่ง หรือ ถ้าจะเหมาๆเอารวมๆ ก็ควรจะเลือก wetsuit ที่มีความ universal ใช้งานได้กลางๆอีกแบบหนึ่ง

Freediving Wetsuit ทำหน้าที่ที่สำคัญมากอย่างแรก คือป้องกันความหนาวจาก heat loss ครับ ทราบมั้ยเอ่ยว่าการใช้ wetsuit หนา 3mm ที่อุณหภูมิของน้ำ 25-28c ร่างกายเราจะหนาวเร็วกว่าใส่ 7-8mm ที่อุณหภูมิของน้ำที่ 8-10c ซะอีก และตั้งแต่การดำน้ำลึกที่ 15-20ลงไป ร่างกายจะเสียความร้อนเร็วมาก (7-8เท่า เมื่อเทียบกับอากาศ) ยิ่งถ้าลงลึกกว่านั้น เรียกว่าอ๊อกซิเจนแทบไม่หมุนเวียนในร่างกายเลย

การที่เราลงลึกได้ยาก ไม่อึด เหตผลหนึ่งก็เพราะเรื่องการเลือก wetsuit ที่ไม่ถูกประเภทนั่นเอง..

ยิ่งลงลึกก็ยิ่งหนาว ยิ่งหนาวก็ยิ่งสูญพลังงานมาก พลังงานที่เสียไปก็เพราะความร้อนที่สูญเสียไปนั่นเอง การดำฟรีไดฟ์ปรกติทำให้เราผอมง่าย (แฮร่..) เพราะดำเล่นๆไม่ต้องลึกแค่ 2-3ชม ร่างกายก็เผาผลาญไปแล้ว 5-800 กิโลแคลลอรี่แล้ว (ประมาณครึ่งหนึ่งของพลังงานที่ร่างกายต้องการต่อวัน) ถ้าลงลึกถึง 20เมตรลงไป แคลลอรี่ที่ต้องใช้ก็ยิ่งสูงขึ้น (ถึงแม้การเผาผลาญอ๊อกซิเจนจาก Cell Metabolism จะต่ำลงจาก Dive Reflex ที่เพิ่มขึ้น)

เวลาเราอยู่ผิวน้ำ เรายังเสียความร้อนอีกจาก wetsuit ธรรมดาที่ไม่ได้เคลือบสารป้องกันการเสียความร้อนจากลม แสง และความชื้นอีก (wind, sun, humidity) ถ้าเป็น neoprene ธรรมดา สังเกตว่า เวลาเอามาตาก มันจะแห้งเร็ว เพราะลมนั่นเอง สำหรับ Freedive Wetsuit ที่มีเจ้า lubricant ที่เราชอบเรียกว่า smooth skin นั่นแหละครับ ที่เราคิดว่ามันทำหน้าที่แค่ความนุ่มลื่น จริงๆไม่ใช่เลย หน้าเคลือบ และวัสดุตัดเย็บตัวนี้ใช้ทั้งข้างใน และข้างนอก wetsuit (exterior & interior) ก็เพื่อทำให้ใส่สบาย สวมใส่ง่าย รักษาความร้อน และไม่อึดอัดครับ

Courtesy of Okinawa Blessing - Materials selections 100% Made in Japan

การตัดเย็บ (sewing, gluing & sealing) มีความสำคัญมาก บางแบบตัดเย็บมาเพื่อให้ตัว Freediver โดนน้ำ (ไม่ว่าจะเป็น opened cell หรือ closed cell) บางแบบ พอใส่แล้ว ร่างกายจะไม่เปียกหรือโดนน้ำเลยระหว่างการฟรีไดฟ์ ช่วยรักษาให้ร่างกายอบอุ่น บางกว่ามาก (อาจจะแค่ 0.5 - 1mm) และอบอุ่นกว่ามากครับ

การดำน้ำฟรีไดฟ์ที่ทะเล จะสังเกตว่าเรามักจะนอนพักที่ bouy ในลักษณะนอนหงาย หรือคว่ำ ส่วนหนึ่งก็เพื่อให้เราได้รับความอบอุ่นผ่านพื้นที่หน้าตัดของ wetsuit ระหว่างกายหายใจนั่นเอง bouy หรือทุ่น จึงเป็นสิ่งจำเป็นมาก ไม่ใช่แค่เอามาเกาะๆเพื่อเหตผลด้านความปลอดภัย แต่ทำให้ดำน้ำได้อย่างถูกต้องอีกด้วย (มีสอนตั้งแต่ level 1 แล้วนะครับ คงจำได้ ไปดำน้ำฟรีไดฟ์ในทะเล ต้องใช้ทุ่นเสมอ ลอยออกตัวเปล่าๆ อันตรายมาก)

Courtesy of Okinawa Blessing - Customized factory in Okinawa, Japan

วัสดุที่ใช้ในการทำ wetsuit มีหลายคุณภาพ หลากราคามาก ควรเลือกให้เหมาะกับการฟรีไดฟ์ของเราเอง วัสดุส่วนใหญ่ถ้าเอาระดับดีหน่อยส่วนใหญ่ก็มาจาก ญี่ปุ่น เกาหลี ไต้หวัน ถึงแม้จะตัดเย็บที่ไหนก็ตาม ที่สำคัญ เทคนิคการตัดเย็บ เป็นตัวกำหนดว่า freedive weitsuit ตัวนั้นจะทำงานได้ดีทั้งราคา และ ฟังก์ชันหรือไม่

Courtesy of Okinawa Blessing - Team with more than 40 year experience headed by Mr Nakura and Mrs Mari Kadokura

ตอนนี้ฟรีไดฟ์บ้านเราเดินมาไกลพอสมควร

ถึงเวลาที่รู้จักอุปกรณ์สวมใส่ที่ถูกต้อง

เพื่อให้เราฟรีไดฟ์ได้สนุกสนานและปลอดภัยจริงๆครับ

The Author is Freediver Instructor Trainer

about him

A non-political traveler, a long-standing certified dive instructor, a pilot-in -training, an underwater photographer and most importantly a man who is still learning with himself on his own pace with growing number of deep sea interests.

bottom of page