top of page

ปัญหาของการลงลึก ( problems with deeper dives )


นักฟรีไดฟ์หลายท่านคนเคยได้ยินเทคนิคการลงลึกๆให้ได้เร็วๆแบบชาวประมงสมัยก่อน (Spearfishers) ที่มักจะ หายใจออกเร็วๆ ให้อากาศมันออกจากปอดให้หมด แล้วโดดเลย เค้าทำเพื่อให้ปอดมันฟีบๆ หรืออากาศน้อย ตัวมันก็จะจมเร็ว.. ได้ผลครับ แต่ทำบ่อยๆก็ตายไปเยอะ (เค้าเพียงไม่ได้มาเล่าให้ฟังเท่านั้นเอง) แต่ถ้าฝึกบ่อยๆด้วยการเข้าใจร่างกายเราอย่างถูกวิธี ก็สามารถลดปัญหาที่ตามมา และก็ลงได้ลึกจริงอย่างปลอดภัยครับ

เอ๊ะ แล้วมันยังไงกันล่ะ ?

เรามาทราบกันก่อนนะครับ ว่า การลงฟรีไดฟ์แบบลึก มีคำจำกัดความหลวมๆที่ประมาณ 30m ซึ่งแต่ละสถาบัน (dive agencies) ก็มีหลักการเรื่องระยะความลึกนี้ใกล้เคียงกัน เรื่องที่ยากในการลงลึกไม่ใช่เรื่องของใครกลั้นหายใจได้นานกว่าใคร เห็นเพื่อนๆน้องๆที่มาเรียนฟรีไดฟ์ตะละคนกลั้นได้เก่งๆเกิน 3.5-4.5นาทีทั้งนั้น แต่ปัญหาการไม่สามารถลงลึกๆได้ อยู่ที่การ equalize ต่างหาก

เมื่อเราผ่านจุดที่ร่างกายจม (Free fall) ก็ปล่อยให้เราจมไปเรื่อยๆเถอะครับ อย่าสติแตก ให้มาโฟกัสที่ความกดดันดีกว่า เพราะจุดๆนี้เป็นต้นไป การ equalize จะยากมาก เมื่อหายใจออกจนแทบหมดปอด เพื่อให้จมลงลึกได้ง่ายอย่างที่กล่าวข้างต้น เพราะเหตผล อย่างแรก เราจะเหลืออากาศในปอดเล็กน้อยมาก จุดนี้เราเรียกว่า Residual Volume ของปอดครับ (เริ่มยากละ) และนอกจากนั้น อากาศที่เหลือน้อยอยู่แล้ว จะหดตัวเล็กลง ตามกฏของ Boyles ก็ยิ่งทำได้ยากเบิ้ลหลายเท่า (คือ หายใจออกจนเกือบหมดปอด ให้ตัวลงเร็วๆไว้ก่อน เรื่องหูเอาไว้ทีหลัง)

คำถามคือ เอ๊ะ..

แล้วไม่เหลืออากาศในปอด แล้วจะมีชีวิตอยู่ได้เรอะ ?

คำตอบคือ ได้สิ ครับ อากาศ คือ อ๊อกซิเจนนิดหน่อย ไม่กี่เปอร์เซ็นเอง และอ๊อกซิเจนที่มีในร่างกายเรามากที่สุด และสามารถนำมาใช้ได้ดีที่สุด คือ อยู่ใน เม็ดเลือดแดง ของเราเองครับ (80-90%) และ เลือดเรา ก็ไม่ได้หายไปไหนตอนเราดำน้ำนิ :)

สิ่งที่ลำบากคือ เมื่อเราหายใจออกจนเกือบหมด เราต้องเจอปัญหาหนัก คือจะเอาอากาศที่ไหนออกมา equalize (ก็เอาออกแทบจะหมดปอดอยู่แล้ว) และถึงแม้จะใช้ Frenzel’s technique เก่งๆ (เคลียร์อากาศจาก Air Captivity หรือ ช่องอากาศที่ไม่ใช่ปอด) ยิ่งลงลึก เราก็ยังรู้สึกอยากจะอ๊วกอยู่ดี (มีรู้สึกอึดอัดมากในปาก อยากจะปล่อยลมทิ้ง อยากจะเอาหมูปิ้งข้าวเหนียวออกมาเลี้ยงปลา)

วิธีที่เราใช้แก้ไข คือ อย่างแรก ต้องพยายามร่างกาย Relax มากที่สุดครับ ทำให้ Diaphragm และหน้าอกขยับตัวมากๆก่อนลงน้ำ (เป็นการหาช่องว่างที่ที่หาอากาศออกมา equalize ได้ดีอีกจุดนึง) Stretching ก่อนลงน้ำช่วยได้เยอะเลย

และ อีกอย่าง คือ ต้องใช้เทคนิค กลืนอากาศ หรือที่เราเรียกว่า Mouth-Fill ซึ่งเป็นการใช้ลื้น กราม ขยับ กวาดอากาศไปเก็บตามกระพุ้งแก้ม ช่องไซนัส เมื่อพร้อม แล้วค่อยคายอากาศนั้นออกมาใช้ (บางคนใช้เทคนิคนี้คู่กับ Frenzel เพื่อเป็นการปิดหลอดลม ไม่เอาอากาศออกจากปอดมาใช้เลย ถ้าเป็นการขึ้นสู่ผิวน้ำจากการลงลึกมากๆ เป็นการป้องกันอันตรายเรื่องก๊าซ จะเล่าให้ฟังในโอกาสต่อไปครับ)

การลงลึกแบบ Deep Freedive ไม่ได้อยู่ที่ตัวคนครับ แต่อยู่ที่ใจคุณ เพราะตัวคนจมดิ่งลงไปเองแน่นอนเมื่อผ่าน 18 – 22m ลงไป แต่จุดกดดันที่ใจคุณ คือ เราอาจจะไม่สามารถปรับความดันได้ทัน เพราะตัวดิ่งๆไปเรื่อยๆ ..ไม่เหนื่อยกาย แต่รำคาญใจ (และกลัวใจตัวเอง)

เพราะงั้น หลังจากผ่านจุดที่ลึกเกิน 18m ไป ก็.. ปล่อยให้มันจมๆเหอะครับ และก็พยายามลืมๆโลกข้างบนไปก่อน เดี๋ยวก็ลงได้เอง

มีคำถามอีกว่า.. เอ๊ะ แล้วถ้าจะลงให้ถึง 30 – 40 -50 เมตร แบบไม่ใช้วิธีนี้ได้มั้ย (ลงให้มันจบๆไปน่ะ จะได้สอบผ่าน)

ตอบว่า ได้สิครับ

ใครชอบสายถึก บี้ๆตัวเองลงไป เจ็บก็ทนๆไป.. เดี๋ยวก็ลงได้เอง

แต่จะขึ้นมาได้มั้ย..

นั่นมันอีกเรื่องนึง

The Author is PADI Master Freediver Instructor

Commentaires


about him

A non-political traveler, a long-standing certified dive instructor, a pilot-in -training, an underwater photographer and most importantly a man who is still learning with himself on his own pace with growing number of deep sea interests.

bottom of page