top of page

คุณไปต่อได้ ! Master Freediver


ก่อนจะเริ่มเรียนทุกคอร์สของ Basic / Freediver ผมมักจะถามนักเรียนเสมอ ว่าเพราะอะไรถึงสนใจ Freediving คำตอบแตกต่างกันไปครับ ไม่ว่าจะเพราะ 'อยากได้รูปสวย' 'อยากเอาชนะตัวเอง' 'เพื่อนลากมา' 'ลากเพื่อนมา' 'ลากๆกันมา' 'ลองดูมันแปลกดี' 'ขี้เกียจแบกอุปกรณ์หนักๆแบบดำน้ำลึก(SCUBA)' และอื่นๆอีกมาก..

ที่ถามไม่ใช่อะไรหรอกครับ จะได้รู้ว่าเค้าต้องการอะไร จะได้ออกแบบการเรียนการสอน การฝึกให้ตามใจผู้เรียน หนักไปก็ใช่ว่าดี เบาไปก็ใช่ว่าจะถูกใจสายฮาร์ด(คอร์)

เมื่อเราเริ่มสนุกกับการฟรีไดฟ์ ก็เริ่มอยากลงลึกท้าทายตัวเอง พอจบถึง Advanced ก็อยากเรียนต่อ Master ละ Dive Agency บางแห่ง เรียกว่า Level 3 ซึ่งจริงๆแล้วก็แค่ชื่อน่ะครับ ส่วนตัวไม่ค่อยเห็นด้วยกับคำว่า ‘ระดับ’ หรือ Level เพราะคิดว่ามันฟังดูน่ากัวไปนิด (เน้นเอาแต่ลึกๆๆ) ทั้งๆที่หลักการคล้ายกันแหละ

การเรียน Master Freediver ชื่อก็บอกแล้ว ว่า 'มาสเตอร์'

แปลตรงตัวสำหรับภาษาอังกฤษ หรือลาตินโบราณ Maestro ก็คือ เรียนให้ ' เป็นนาย เป็นผู้รู้ '

เหมือน ปริญญาโท หรือ 'Master' Degree ครับ

เมื่อจะเรียนเป็นผู้รู้ ก็ต้องรู้จริง รู้มากกว่าคนอื่นน่ะสิ เพราะงั้นเรื่องความลึก เรื่องความอึด เรื่องระยะ มันกลายเป็น ‘น้ำจิ้ม’ กลายเป็นเป็นองค์ประกอบไปซะ เหมือนอย่างที่เคยบอกในบทความเรื่อง การเรียน Advanced Freediver ว่าคนธรรมดาก็ลงลึกได้ไม่ยาก แต่ลงให้ถูกต้องมันคืออัลไลตะหาก

การเรียนระดับนี้จึงเน้นที่ Theory with reference to Technique ครับ

‘เป็นทฤษฏี ที่สามารถอธิบายเทคนิคการฝึกที่ถูกต้อง’ ทุกรูปแบบ ไม่ใช่แค่เน้นการหายใจที่มีประสิทธิภาพก่อนลงน้ำแบบระดับ Advanced ที่ผ่านๆมา

เพราะงั้น สิ่งที่ต้องเรียนและฝึก แทบจะทำไปพร้อมๆกัน ตั้งแต่เรื่อง Training Cycle ประกอบไปด้วยการฝึกลักษณะแบบ Gradual Effort Making หรือค่อยๆเพิ่ม ระยะ เวลา ความลึก โดยฝึกสลับกันเป็น grid จนกว่าจะรู้ว่าสรีระร่างกายของตัวเองมัน ถนัด หรือ ถูกจริต กับอะไร เช่น ถนัดการใช้ O2 ถนัดการเคลื่อนไหวในน้ำ ถนัดการอึด(ทน)กับก๊าซ N2 หรือ CO2 หรือ ก๊าซอื่นที่กำลังจะเกิดขึ้นเมื่อเราลงลึก

อย่างที่สอง คือ การฝึกการ Recovery Pattern ที่เหมาะสม เพราะการขึ้นสู่ผิวน้ำในระดับนี้กับการขึ้นสู่ผิวน้ำแบบฟรีไดฟ์ชิวๆ มันไม่เหมือนกันน่ะสิ นอกจากนั้นแล้ว ก็จะดูเรื่องตารางและความถี่ (Maintenance Frequency) การฝึกแบบต่างๆ เพราะถ้าโหมมากเกินไป ร่างกายก็จะเกิดอันตรายได้ในระยะสั้น หรือ ระยะยาว

หลังจากนั้น ต้องเสริมและเข้าใจเรื่องพวก Alternative Workouts หรือการออกกำลังกายเพื่อช่วยกล้ามเนื้อให้แข็งแรง และให้สามารถการดูดซึม O2 สร้างการเผาผลาญที่ดี อาหารการกินที่ถูกต้อง (Freediving Nutrition) ..แฮ่ม..

การฝึกแบ่งออกเป็น Dry และ Wet Hydro หรือพวก Anaerobic คราวนี้มีต้องอึดนะครัช เพราะการเผาผลาญพลังงานของกล้ามเนื้อเราจะเริ่มแตกต่างกันละ (Various Muscle Metabolism) เราจะเริ่มบริหารอ๊อกซิเจนผ่านการดูดซึมที่ดี ไม่ใช่ผ่านความถึกแระ

ตารางการเรียนในสระก็มีเรื่อง Speed Dynamic กลับมาอีกครั้ง โดยแบ่งออกเป็น MON และ FIN (เลือกได้ครับ) ที่สำคัญอยากจะเน้นที่ Aerobic Capacity โดยระหว่างการฝึกจะดูที่ค่าการเต้นของหัวใจ (Maximal Heart Rate) ให้เพิ่มได้ช้าๆไม่เกิน 10% ดู Maximal Ventilation หรืออัตราการหายใจเข้าออก การฝึกแบบควมคุมค่ากรด Lactacidemia (8mmol/L) หรือการควบคุมปริมาณกรด Lactic ในเลือด ทั้งหมดนี้ที่ทำในสระ ก็เพื่อให้เราทำระยะได้ยาวขึ้น เร็วขึ้น ทนการสร้างภาวะการสร้างกรด (muscular acidosis) เรื่องตารางการฝึกอื่นๆก็เยอะพอดูครับ

พอมาเรื่อง Static หรือการกลั้นหายใจให้ดีขึ้น จะฝึกแบบ Periodization หรือ ฝึกสลับรูปแบบแข่งขัน กับ รูปแบบวอร์มอัพ โดยยึดเทคนิคการทำ Technical Series ได้แก่ Instability หรือ ความไม่แน่นอนของสมดุลในร่างกาย ทั้งนี้เพื่อกำจัดสิ่งรบกวนสมาธิในและนอกร่างกายออกไป (disturbing elements)

การฝึกแบบ Split รูปแบบต่างๆ เช่น เพิ่มจำนวนจ้วง (Dives) พร้อมๆกับลดเวลาหายใจ (Recoveries) และการเพิ่ม Maximum Speed เพิ่ม Gliding Speed โดยการการใช้ขาและแขนรูปแบบต่างๆ หรือการฝึกแบบ Stop and Go หรือ ว่าย.. หยุด.. ว่าย.. หยุด.. หรือการจ้วงลงลึกที่มี pattern ต่างกัน

" Master Freediver กับ Spearfisher ถึงจะมีรูปแบบการดำน้ำต่างกันโดยสิ้นเชิง

แต่เราควรเข้าใจเค้าทั้งคู่

เพราะ เค้าลงลึกพอๆกัน"

เรื่องการ equalize ไม่ต้องพูดถึงครับ ต้องทำได้แทบทุกอย่าง รวมถึง Mouthfill เพราะต้องเอาไปใช้ใน Skills ลงลึกในทะเล โดยนักเรียนต้องสามารถ charge (เรียกอากาศ) ที่ความลึกระดับต่างๆกันโดยการปรับค่า CPD (Constant of Direct Proportionality) ไปสูงสุดที่ 3.5 (สูงกว่าระดับ Advanced ที่ 2.5 max)

เราจะเติมลมกลับขึ้นมาในปาก(โดยปล่อยเอามาจากปอด)เพื่อใช้ในการ equalize เหมือนการเคี้ยวเอื้องของวัวควายน่ะครับ (วัวควายจะ อ๊วกหรือสำรอกเอาหญ้าออกมาจากกะเพราะมาเคี้ยวต่อ เมื่อหิวหรือยังย่อยไม่หมด แต่ของเราจะอ๊วกอากาศออกมาจากปอด แต่เก็บไว้ในปาก รอใช้ในการเคลียร์หู) ซึ่งควรสัมพัทธ์กับปริมาตรของอากาศที่เหลือในปอด (Residual Volume) ตารางก็จะประมาณนี้

DC Pressure MFV before fill Refill MFV after fill

0 1 0 cc. 0 cc. 0 cc.

10 2 0 cc. 400 cc. 400cc.

20 3 268 cc 132 cc. 400 cc.

30 4 300 cc. 100 cc. 400 cc.

DC = Depth Charge (meter)

MFV = Mouth fill Volume (cc)

การลงทะเลจะเน้นการทำความลึกโดยใช้ FRV (Function Residual Volume) ปรับปอดของเราให้เข้ากับ Ambient Pressure ให้ได้ โดยการ Balance อากาศจากโพรงจมูก ปอด และหน้ากาก (Mask Equalization) ตารางก็จะให้ทำ (ฝึก และคำนวณด้วยตัวเอง)

ก็ประมาณนี้

Candidate A: Day xx

DC ATM TLV(m) LV(w) AV MV

0 1 5 3 0.5 0.013

10 2 2.5 1.5 0.45 0.012

20 3 1.7 1 0.42 0.011

RV 25% 30 4 1.25 0.75 0.41 0.010

RV 20% 40 5 1 0.6 0.40 0.009

DC = Depth Charge (meter) ความลึกที่ฝึก

RV = Residual Volume

TLV = Total Lung Volume (liters) (Man / Women)

AV = Air Cap Volume (liters) (lowest at soft palette)

MV = Variant Mass Volume (liters) (min. to max) อากาศในหน้ากาก

จากนั้นก็เรียนการทำ Lung Packing หรือที่เราเรียกว่า การหายใจแบบกบ (โอ๊บๆ) หรือการยัดอากาศลงไปเกินกว่าที่กล้ามเนื้อปอดจะรับได้ (Glossopharyngeal Insufflation and Exsufflation) บางทีครูก็จะเอาน้ำค่อยๆกรอกปากด้วยความนุ่มนวล จนจะสำลักน้ำออกมาน่ะครับ (จะได้เข้าใจความรู้สึกของกล้ามเนื้อในปอด และรอบๆปอด เมื่อมันทน pressure ไม่ได้) ส่วนเวลาจริง จะให้ใช้อากาศ ไม่ใช้น้ำ เด๋วตายก่อน

เรื่องสำคัญต่อมาคือ การบริหารความลึกครับ เป็นการดำลง(แล้วปรับหูได้) และ ดำขึ้น(ได้อย่างปลอดภัย) ในท่าทางหรือ formation ที่ถูกต้อง และไปพร้อมกับน้ำหนักตัวและ counter weight ที่สัมพัทธ์ต่างกัน เช่น

Descent (kgs) Release (kgs) Ascent (kgs)

8 8 0

7 6 1

6 4 2

5 2 3

4 1 3

Descent = ลงด้วยตะกั่ว (รอบตัวโดยปรับให้ counter weight สัมพันธ์กับความหนา wet suit

Release = ปลดตะกั่วออก

Ascent = ขึ้นด้วยน้ำหนักที่เหลืออยู่

ตัวอย่างการฝึกแบบนี้ต้องทำแบบ CNF หรือ Free Immersion เท่านั้นครับ เพราะมือนึงต้องจับและดึงเชือกขึ้นเพื่อความปลอดภัย (ลองเล่นๆคิดดู น้ำหนักมากขนาดไหน) และจะเป็นการเพิ่มความอึด ความลึก และความถึกของหูขึ้นไปเรื่อยๆ

พอทำได้แล้วพร้อมๆกับอีกหลายโปรแกรม ก็มาเน้นเรื่องการระวังอันตรายครับ

อันตรายจากการฟรีไดฟ์คืบคลานมาในรูปแบบต่างๆเช่น น้ำทะลักปอด (pulmonary oedema) ซึ่งเวลาลงลึกจะเกิดโดยไม่รู้ตัวถ้าซี่โครงเราไปบีบปอดจากแรงดันที่เพิ่มขึ้นจนปอดมีรู (ปรกติจะหายไปในเวลาไม่กี่ชั่วโมงถ้าอาการไม่หนักมาก

หรืออันตรายและการป้องกันอาการของ Taravana syndrome สำหรับคนที่ลงถี่ๆรัวๆๆๆ ลงลึกเกินไปต่อวัน (ไม่ฟังครู แฮร่..) ประกอบด้วยการแทรกตัวของก๊าซพิษที่ร่างกายไม่ต้องการ การแก้ไขโดยการทำ surface recovery อีกรูปแบบหนึ่ง (ตะก่อนพวก Spearfisher เป็นโรคนี้กันเยอะ บางทีคนโบราณเรียกโรคน้ำหนีบ)

และการแก้ไขการสำลักลิ่มเลือดออกมาตอนขึ้นสู่ผิวน้ำจาก Lung Squeeze และสารพัดรูปแบบของการ Blackout ประเภทต่างๆ ที่ความลึกต่างกัน

เรื่องใหญ่สุดท้าย คือ โรคและอาการบาดเจ็บที่เราต้องเจอแน่นวลในฐานะ Master Freediver ครับ ได้แก่ หู คอ จมูก (Otorhinolaryngology) ก็พวกเกี่ยวกับความดัน (Barotramas) เช่น หูฉีกจะตายมั้ย (Eardrum Rapture) กี่วันหาย โรคหูชั้นนอก โรคหูชั้นกลาง โรคและการระเบิดของหูชั้นใน หรือแม้แต่เรื่องหูอื้อ ว่ามันต่างกันยังไง แก้ไขยังไง

นอกจากนั้นก็พวก Paranal Sinus หรือโพรงจมูกที่มีเส้นประสาทและเส้นเลือดฝอยเยอะๆลงถี่ไปความเร็วขนาดไหนจะเกิดเลือดกำเดาทะลัก หรือซึมออกมา ปวดหัวข้างหลัง ปวดหัวข้างหน้า ปวดหัวข้างเดียว แม้แต่ฟัน (Dental Barotrauma) ก็เกี่ยวข้องกับการดำน้ำลึก (พวกฟันผุ ทำฟันมา อุดฟัน ฝังเหล็ก มีฟันปลอม ดำน้ำแล้วปวดดดดดด ทำไงดี ฝืนลงไปไม่สนุกนะครัช)

การลงลึกถึงระดับ 30-40 ปรกติแล้วมีแต่ นักกีฬา หรือ พวกชาวประมง (Spearfisher)หรือ ครูฝึกระดับต่างๆกันเค้าลงกัน (แล้วแต่ระดับที่ครูแต่ละท่านเรียนมา และหรือ ระดับที่ครูสามารถสอนได้ โดยขึ้นอยู่กับ Dive Agency ที่สังกัด)

คนปรกติเค้าก็ลงได้ เพราะหลักสูตรแทบจะทุกหลักสูตร ส่วนใหญ่ตอนนี้ถูกออกแบบมาให้ลงเพื่อความสนุกสนานและปลอดภัย แต่ก็ควรฝึกให้ถูก และใช้เวลากับมันมากๆ

หลักสูตร Master Freediver หรือ Level 3 ปรกติเค้าเลยใช้เวลาเรียนกันเป็นเดือนๆ.. จบบ้าง ไม่จบบ้าง.. ไม่เอาอีกแล้วบ้าง... เรียนไปด่าครูไปบ้าง.. (พาตรูมาทรมานทำไมฟระ)

....

เพราะ 30-40เมตรน่ะ สูง(ลึก)ขนาดตึก 12-15ชั้นนะครัช

อย่าว่าแต่นักเรียนมองก้นทะเลไม่เห็น

'ครู'ยังมองไม่เห็นนักเรียนเลย

เพราะงั้นลงไป ถ้ามีอะไร ก็อาจจะไม่มีใครช่วยทันนะครัช

ผู้เรียนจึงต้องเรียนและฝึกจนมั่นใจว่าช่วยตัวเองได้ก่อน เข้าใจทั้ง ' ทฤษฏี ' และ ' ปฏิบัติ '

...

ระดับความลึกตรงนั้นนั้น เรื่องสมาธิไม่น่าห่วง รับประกันว่า ‘ลืมความกังวล ลืมความกลัว’ บนโลกเบี้ยวๆใบนี้หมดสิ้นครับ

..กลัวแฟนทิ้ง ..กลัวตกงาน กลัวไม่ได้เป็นรัฐบาล.. กลัวหุ้นตก..

เหลือความกลัวเหมือนกันอยู่อย่างเดียว

‘กลัวตาย..’

The Author is Freediver Instructor Trainer

Comments


about him

A non-political traveler, a long-standing certified dive instructor, a pilot-in -training, an underwater photographer and most importantly a man who is still learning with himself on his own pace with growing number of deep sea interests.

bottom of page